ในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา มีหุ้นอยู่หนึ่งตัวที่ราคาเสนอขายประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) อยู่ที่ 3.25 บาท แต่ปัจจุบันราคาพุ่งขึ้นมาแตะ 70 บาท เพิ่มขึ้นมาประมาณ 20 เท่า และหุ้นตัวนั้นก็คือ “หุ้น COM7” หรือ บริษัท คอมเซเว่น จำกัด (มหาชน) นั่นเอง หุ้นตัวนี้จะมีความน่าสนใจแค่ไหน วันนี้พี่ทุยได้ทำสรุปพร้อมวิเคราะห์แบบเจาะลึกมาให้เพื่อน ๆ นักลงทุนได้เข้าใจง่าย ๆ

บริษัท คอมเซเว่น จำกัด (มหาชน) ประกอบธุรกิจหลักในการค้าปลีกสินค้าไอที เช่น คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ คอมพิวเตอร์แบบพกพา โทรศัพท์เคลื่อนที่ แท็บเล็ต และอุปกรณ์ไลฟ์สไตล์ ทันสมัยอีกมากมาย

ปัจจุบันบริษัทมีสาขาครอบคลุม 75 จังหวัด จาก 77 จังหวัด ในนามของ ชื่อร้าน BaNANA, Studio7, BaNANA Mobile, BaNANA Equip, BaNANA Outlet, BKK, KingKong Phone, Bb, B-Play, Bb-Move และ Brand Shop แบ่งเป็น 4 ลักษณะ คือ ร้านค้าที่ขายปลีกสินค้าไอที ร้านค้าที่ขายสินค้าแบรนด์ Apple ร้านค้าที่เน้นขายโทรศัพท์เคลื่อนที่ และร้านค้าแบรนด์ช็อปอื่น ๆ

การขายให้ลูกค้าที่เป็นองค์กรรวมทั้งที่เป็นสถาบัน การศึกษา บริษัทเรียกธุรกิจนี้ว่า Commercial และ Education คือการขายตรงไปยังบริษัททั่วไปที่เป็น นิติบุคคล รวมถึงมหาวิทยาลัย และโรงเรียนต่าง ๆ

บริการหลังการขายของบริษัทสามารถแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะคือ ศูนย์ซ่อม และบริการสินค้า Apple ในประเทศไทย ภายใต้ชื่อ “iCare” และร้านให้บริการ TRUE Shop ภายใต้ชื่อ “TRUE by Com7”

จากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปตามเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า ผู้บริโภคนิยมสั่งซื้อสินค้าทางออนไลน์เพิ่มมากขึ้น บริษัทจึงจัดตั้งช่องทางการสั่งซื้อสินค้าทางออนไลน์ภายใต้ชื่อ ซึ่งการทำธุรกิจออนไลน์ได้เข้ามาเสริม ธุรกิจหลักของหน้าร้าน เพื่อให้ลูกค้าได้มีประสบการณ์ในการซื้อสินค้าที่สะดวก สบายมากขึ้น

ปี 2563 COM7 มีรายได้จากการขายและการให้บริการจำนวน 37,306 ล้านบาท เติบโตขึ้น 11.8% เมื่อเทียบกับปีก่อนที่ 33,362.5 ล้านบาท แบ่งเป็น

บริษัทยังสามารถรักษายอดขายให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าในปี 2563 จะมีผลกระทบจาก Covid-19 ส่งผลให้มีการปิดสาขาชั่วคราว ตามนโยบายภาครัฐ ทั้งนี้ยอดขายที่เติบโต โดยหลักมาจากสินค้าที่ได้รับประโยชน์การ Work From Home ซึ่งบริษัทได้มีการปรับเรื่องสินค้าให้ตอบโจทย์ การทำงานที่มีความเป็น Mobility มากขึ้นและประเภทสินค้าต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ยกตัวอย่าง เช่น การประชุมและการ Streaming ส่งผลให้ยอดขาย ในกลุ่มของ Notebook และ DIY เติบโตเป็นอย่างมาก รวมไปถึงผลตอบรับที่ดีจาก iPhone12

โดยการที่บริษัทได้วางแผนเพื่อบริหารสินค้า ให้เพียงพอกับยอดขายที่เพิ่มขึ้นและให้ทันกับความต้องการกับลูกค้า และบริษัทได้มีแผนในการเปิดสาขาแบบ Stand Alone นอกห้างสรรพสินค้า เพื่อที่จะได้รองรับในสถานการณ์ต่าง ๆ ซึ่งเมื่อรวมกับสาขาที่เป็นแฟรนไชส์ที่ตั้งอยู่ตามหัวเมืองสำคัญต่าง ๆ จึงทำให้บริษัทมั่นใจว่าจะสามารถเพิ่มยอดขายให้เติบโตได้อย่างต่อเนื่อง และการที่มีสาขากระจายในทุก Platform จะช่วยส่งเสริมในการเป็นจุดรับสินค้าเมื่อลูกค้าสั่งซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ของบริษัทได้ด้วย

ยอดขายผ่านช่องทางออนไลน์มีการเติบโตอย่างมาก โดยได้ประโยชน์จากสถานการณ์ Covid-19 และยังมีผลต่อยอดขายปัจจุบันที่ลูกค้าปรับตัว โดยการสั่งซื้อผ่านช่องทางนี้ ประกอบกับบริษัทได้มีการปรับปรุงและเพิ่มเติมการบริการ เช่น Chat & Shop หรือ Click and Collect ซึ่งบริษัท ได้มีการปรับตัวตามพฤติกรรม New Normal ของผู้บริโภคและได้นำมาต่อยอดในการสร้างประสบการณ์ซื้อของ ทั้งนี้ในส่วนของลูกค้าและยอดขาย เพิ่มขึ้นไม่ว่าจะเป็น หรือ Market Place อื่น ๆ

รายได้รวม 37,453.90 ล้านบาท เติบโตขึ้น 12.0% เมื่อเทียบกับปี 2562 ที่ 33,428.80 ล้านบาท

กำไรสุทธิส่วนของบริษัทใหญ่ 1,490.68 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 22.6% เมื่อเทียบกับปี 2562 ที่ 1,216.32 ล้านบาท

ผลประกอบการที่ออกมาเติบโตโดดเด่นในครั้งนี้ เนื่องมาจากความสำเร็จในการบริหารจัดการผลิตภัณฑ์ในทุกกลุ่มธุรกิจ การจัดกิจกรรมการ ตลาด และโปรโมชั่นส่งเสริมการขาย นำเสนอสินค้าใหม่ ๆ ที่สอดรับกับไลฟ์สไตล์และความต้องการของลูกค้า นอกจากนี้ กระแสสินค้ากลุ่มแกดเจ็ต (Gadget) ไอโอที (IoT) และสินค้ากลุ่มเครื่องใช้ในบ้าน (Home Appliances) ได้รับการตอบรับที่ดีขึ้น รวมไปถึงผลตอบรับจากการเปิดตัวสินค้าใหม่ แบรนด์ชั้นนำโดยเฉพาะรุ่น iPhone 12 ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ซึ่ง Com7 เป็นตัวแทนจำหน่ายแบรนด์ Apple รายใหญ่ในประเทศไทย จึงทำให้ได้รับปัจจัยบวกดังกล่าว รวมถึงสินค้ากลุ่ม iPad และ Apple Watch มีการเติบโตที่ดี และขณะเดียวกันสินค้ารุ่นเก่าก็ยังสามารถขายได้อย่างต่อเนื่อง

1. บริษัทเป็นผู้ประกอบการร้านจำหน่ายสินค้าแบรนด์ Apple ที่มีจำนวนสาขามากที่สุดและครอบคลุมพื้นที่ทั้งในเขตกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด มากที่สุดในประเทศไทย

จากการเติบโตอย่างต่อเนื่องของสินค้าแบรนด์ Apple บริษัทได้เข้าทำสัญญาเป็น Authorized Reseller กับ Apple South Asia (Thailand) Ltd. (Apple) ในปี 2548 เพื่อจัดจำหน่ายสินค้าแบรนด์ Apple ภายใต้ชื่อร้าน Studio7 และร้าน U-Store เป็นร้านขายสินค้าแบรนด์ Apple ที่เปิดภายในบริเวณมหาวิทยาลัยเพื่อเป็นช่องทางจำหน่ายสินค้าแบรนด์ Apple ให้กับนักเรียนและนักศึกษามหาวิทยาลัย

ทำเลนับเป็นเรื่องสำคัญอันดับหนึ่งของธุรกิจ การที่บริษัทอยู่ในธุรกิจค้าปลีกมานานกว่า 20 ปี จึงได้สะสมประสบการณ์ในการคัดเลือกทำเลที่มีศักยภาพ และในปัจจุบัน จากการที่บริษัทเป็นผู้ค้าปลีกสินค้าไอทีที่มีจำนวนสาขามากที่สุดในประเทศ ส่งผลให้หน้าร้านของบริษัทสามารถกระจายครอบคลุมพื้นที่ที่มีศักยภาพสูงไว้ได้ล่วงหน้าก่อนคู่แข่ง

บริษัทมุ่งเน้นการบริการที่มีคุณภาพด้วยความทุ่มเทและความตั้งใจเพื่อสร้างความพึงพอใจอย่างสูงสุดของลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการในช่องทาง การจำหน่ายต่าง ๆ โดยการบริการหลักของบริษัทประกอบด้วย

บริษัทมีกลยุทธ์ในการบริการด้วยสินค้าหลากหลายรุ่น หลากหลายแบรนด์ และหลากหลายประเภท โดยมีราคาขาย ตั้งแต่หลักร้อยบาท จนถึงหลักแสนบาท ปัจจุบันสินค้าที่ บริษัทจำหน่ายครอบคลุมตั้งแต่สินค้าแล็บท็อป คอมพิวเตอร์ แบบตั้งโต๊ะ สินค้าโทรศัพท์เคลื่อนที่ สินค้าแท็บเล็ต และ สินค้าอุปกรณ์เสริมที่เกี่ยวข้อง รวมกว่า 10,000 รายการ ครอบคลุมกว่า 100 แบรนด์ทั่วโลก

บริษัทให้ความสำคัญต่อความสัมพันธ์ระหว่างคู่ค้า โดยตลอดระยะเวลา ในการดำเนินธุรกิจที่ผ่านมา บริษัทมีคู่ค้าในส่วนของผู้จัดจำหน่ายสินค้า (Supplier) กว่า 200 ราย ซึ่งบริษัทได้รับความร่วมมือและได้รับการสนับสนุนที่ดี ทั้งในด้านสินค้าที่หลากหลาย และการบริการต่าง ๆ จากผู้จัดจำหน่ายสินค้า นอกจากนี้ บริษัทดำเนินธุรกิจกับคู่ค้าเหมือนมิตรมากกว่าการเป็นคู่ค้า ร่วมกันทำตลาด ส่งผลประโยชน์ไปจนถึงลูกค้าปลายทางร่วมกัน โดยหาก บริษัทขายของได้ คู่ค้าก็ขายของได้อีกรอบ (Repeat Order)

ในงบปี 2563 ราคาหุ้นเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จากพื้นฐานบริษัทที่แข็งแกร่งเนื่องจากทำกำไรโตต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2561 และเป็นหุ้นเด่นที่ธุรกิจได้ประโยชน์ในช่วงการระบาดโควิด-19

P/BV Ratio มีค่าที่สูงกว่า 1 บ่งบอกถึงนักลงทุนมองเห็นแนวโน้มในอนาคตว่าบริษัทฯ จะเติบโตจนมีกำไรสะสมกลับมาช่วยทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้นได้ในอนาคต

“กำไรต่อหุ้น (EPS)” เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ บ่งบอกถึงบริษัทมีความสามารถในการทำกำไรที่สูงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับงบปี 2562 โดยกำไรต่อหุ้นอยู่ที่ 1.24 บาท/หุ้น จากงบปี 2562 อยู่ที่ 1.01 บาท/หุ้น

P/E Ratio เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ บ่งบอกถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่อศักยภาพในการทำกำไรของบริษัทในอนาคต และเมื่อผลประกอบการในอนาคตออกมากำไรเพิ่มมากขึ้น P/E ของ COM7 ก็จะลดลงมาอยู่ในระดับที่เหมาะสมนั่นเอง

D/E Ratio ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ตามปกติแล้วบริษัทที่มี D/E Ratio มีค่าที่ต่ำ แปลว่าบริษัทมีภาระหนี้สินที่ต่ำ คือ ใช้เงินส่วนใหญ่ของตัวบริษัทเองในการทำธุรกิจ ซึ่งสะท้อนถึงความเสี่ยงของธุรกิจที่มีน้อย

ในส่วนของ ROA และ ROE เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ตามหลักการแล้วยิ่งสูง ยิ่งถือว่าบริษัทนั้นสามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ บ่งบอกว่าสามารถนำสินทรัพย์และเงินของผู้ถือหุ้นไปสร้างกำไรสุทธิได้ในระดับที่สูง

ควบคู่ไปกับการขยายส่วนแบ่งการตลาด ของสินค้าแต่ละประเภท รวมทั้งมีแผนในการขยายหน้าร้าน ตามประเภทสินค้าใหม่ ๆ เช่นร้านสกู๊ตเตอร์ ร้านเกมมิ่ง ร้านอุปกรณ์เสริมและแฟชั่นทันสมัย และร้านสินค้า IoT

ควบคู่การขยายช่องทางการจำหน่ายผ่านออนไลน์ และรุกตลาดองค์กรแบบตอบโจทย์มากขึ้น และจัดให้มีระบบการชำระเงินในรูปแบบต่าง ๆ รวมถึงการให้สิทธิการผ่อนชำระแก่ลูกค้าที่บริษัทกำหนด เพื่อเพิ่มความสามารถในการทำกำไรที่ดีอย่างต่อเนื่องและสร้างความแตกต่างในตลาด

เนื่องจากการที่บริษัทมี Partner เป็น Operator มาช่วย Support โปรโมชั่นการซื้อขายมือถือทำให้ราคาถูกลงและลูกค้าตัดสินใจซื้อง่ายขึ้น ดังนั้นการมีส่วนลดค่าเครื่องเมื่อลูกค้าซื้อพร้อมกับสมัครแพ็กเกจที่เป็น SIM รายเดือน ยังเป็นเรื่องสำคัญ

1. ภาวะชิป (Chip) ในตลาดโลกขาดแคลนจากความต้องการใช้ชิปในหลายอุปกรณ์

กระแส Work from Home, Study at Home จากปัญหาโรคระบาด Covid-19 ทำให้ผู้บริโภคมีความต้องการคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ มากขึ้น ส่งผลให้มีการขาดแคลนชิ้นส่วนโดยเฉพาะอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่าง ชิป หรือแผงวงจร ซึ่งมีบทบาทสำคัญสำหรับการผลิตและพัฒนาเทคโนโลยีใหม่อย่างมากในปัจจุบัน จนทำให้ผู้ค้าปลีกต้องขึ้นราคาสินค้าหรือ Bundle สินค้าเพื่อจำหน่ายและเป็นผลดีต่ออัตรากำไรของบริษัทนั่นเอง

สินค้าเกี่ยวเนื่องกับ 5G อาทิ โทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือ Gadget ที่คาดจะทยอยวางจำหน่าย คาดว่าจะมีความต้องการสินค้าในกลุ่ม 5G เพิ่มมากขึ้นในช่วงครึ่งปีหลังต่อเนื่องไปอีก 2 ปีข้างหน้า จากการขยายเครือข่ายที่ครอบคลุมและการทำโปรโมชั่น

สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศยังคงรุนแรง ซึ่งนำไปสู่การที่ภาครัฐประกาศ Lock Down จะส่งผลกระทบต่อบริษัททั้งในเรื่องของรายได้ จากยอดขายหน้าร้านที่ลดลง และยังส่งผลกระทบต่อพนักงานที่บางส่วนต้องหยุดงาน และผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจที่จะไม่สามารถใช้วิธีการปฏิบัติแบบเดิมได้ เช่น การหลีกเลี่ยงการพบปะ ประชุม หรือมีปฏิสัมพันธ์กัน

คู่แข่งของบริษัทคือผู้ประกอบการค้าปลีกที่จำหน่ายสินค้าไอทีประเภทเดียวกัน เช่น ร้านจำหน่ายสินค้าแล็บท็อป คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ โทรศัพท์เคลื่อนที่ แท็บเล็ต และอุปกรณ์เสริมอื่น ๆ โดยกลุ่มผู้ประกอบการดังกล่าวจะมีทั้งในลักษณะที่เป็นเจ้าของคนเดียว มีจำนวนหน้าร้านเพียง 1-2 ร้าน (Single Shop) และบริษัทเอกชนที่มีหน้าร้านเป็นจำนวนมาก (Chain Store) นอกจากนี้ยังมีคู่แข่งที่ประกอบธุรกิจ พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในลักษณะของศูนย์การค้า และไฮเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ ที่มีการจัดสรรพื้นที่ภายในศูนย์การค้าของตนเองสำหรับจำหน่าย สินค้าไอทีและเครื่องใช้ไฟฟ้า (Consumer Electric)

Post a Comment