การวัดและประเมินผลทักษะการพิมพ์สัมผัส มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาทักษะของผู้เรียน ซึ่งต้องวัดและประเมินให้ครอบคลุมทั้ง 3 ด้าน คือ เทคนิคการพิมพ์ที่ถูกต้อง ความเร็วและความแม่นยำ โดยมีหลักการดังนี้

1. ในระยะเริ่มแรกของการฝึก ให้เน้นการวัดและประเมินผลเทคนิคการพิมพ์ที่ถูกต้องเป็นอันดับแรก โดยใช้วิธีการสังเกตพฤติกรรมการพิมพ์ของผู้เรียนแล้วบันทึกลงในแบบสังเกตเทคนิคการพิมพ์ ซึ่งอาจสังเกตและบันทึกทุกครั้งที่เรียนหรือเว้นระยะเวลาเป็นช่วง ๆ ก็ได้ขึ้นอยู่กับสภาพการเรียนการสอน โดยให้สังเกตพฤติกรรมหลัก ๆ 3 ด้าน คือ

1.1 การนั่ง ผู้เรียนควรนั่งตัวตรงหลังพิงพนักเก้าอี้ แขนปล่อยข้างลำตัวตามสบาย วางเท้าราบกับพื้น ไม่นั่งไขว่ห้างหรือขัดสมาธิ

1.2 การใช้สายตา ผู้เรียนควรใช้สายตามองเฉพาะต้นฉบับในกระดาษหรือหน้าจอเท่านั้น ไม่ควรมองแป้นพิมพ์ในขณะกำลังพิมพ์

1.3 การวางมือและก้าวนิ้ว ผู้เรียนต้องวางมือในลักษณะข้อมือต่ำ นิ้วโค้ง ปลายนิ้ว ”แตะ” แป้นเหย้าในตำแหน่งที่ถูกต้อง อุ้งมือไม่เท้าขอบโต๊ะ และก้าวนิ้วไปเคาะแป้นอักษรที่ต้องการแล้วรีบชักนิ้วกลับแป้นเหย้าด้วยจังหวะที่ต่อเนื่องสม่ำเสมอ

ทั้งนี้ครูควรแจ้งให้ผู้เรียนทราบว่าจะมีการสังเกตและบันทึกเทคนิคการพิมพ์ของผู้เรียนไว้ โดยต้องไม่ลืมแจ้งผลการสังเกตให้ผู้เรียนรับทราบและใช้ผลการสังเกตนี้ช่วยแก้ไขพฤติกรรมการพิมพ์ของผู้เรียนให้ดีขึ้น เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะวิธีพิมพ์ที่ถูกต้องเป็นฐานที่มั่นคงรองรับทักษะความเร็วและความแม่นยำที่จะตามมา ซึ่งครูต้องพยายามคงสภาพทักษะเทคนิคการพิมพ์ที่ถูกต้องของผู้เรียนไว้โดยหมั่นวัดและประเมินพฤติกรรมการพิมพ์ตลอดระยะเวลาที่เรียน

2. เมื่อครูสังเกตเห็นว่าผู้เรียนเริ่มมีเทคนิคการพิมพ์ที่ถูกต้องแล้ว คือมีท่านั่งที่ถูกต้อง จังหวะการเคาะแป้นที่สม่ำเสมอ มีความมั่นใจในการก้าวนิ้วโดยสายตาไม่เหลียวมองแป้นพิมพ์บ่อย มีปริมาณการพิมพ์ที่มากขึ้น ได้เรียนรู้แป้นอักษรในปริมาณเพียงพอและสามารถพิมพ์ข้อความเป็นประโยคได้ ครูก็สามารถเริ่มพัฒนาผู้เรียนโดยการวัดความเร็วและความแม่นยำได้ ซึ่งต้องเข้าใจก่อนว่าการวัดและประเมินทักษะความเร็วและความแม่นยำนี้ มิใช่เพื่อการคัดเลือกคนสอบได้หรือสอบตก หากแต่ใช้เพื่อพัฒนาทักษะของผู้เรียนให้ก้าวหน้าขึ้น ซึ่งสามารถวัดและประเมินได้จาก “การพิมพ์จับเวลา” ทั้งนี้ผู้เริ่มเรียนในระดับประถมศึกษาควรจับเวลาครั้งละไม่เกิน 1 นาที ในการพิมพ์จับเวลาแต่ละคาบ ควรให้พิมพ์หลาย ๆ ครั้ง แล้ววัดความเร็วและความแม่นยำด้วยสูตรต่อไปนี้

ผลลัพธ์ที่ได้คือจำนวนคำที่พิมพ์ได้ต่อ 1 นาที (gross word a minute : GWAM) แล้วจึงบันทึกครั้งที่ดีที่สุดลงในแบบบันทึกความก้าวหน้าในการพิมพ์

2.2 ความแม่นยำในการพิมพ์ วัดได้ 2 วิธี คือ วิธีแรกวัดโดยการนับจำนวนเคาะที่พิมพ์ผิด แล้วบันทึกไว้ในแบบบันทึกความก้าวหน้าในการพิมพ์ หรือวิธีที่สองวัดในรูปของร้อยละโดยมีสูตรดังนี้

ผลลัพธ์ที่ได้คือระดับความแม่นยำ(accuracy rate) เป็นค่าร้อยละ แล้วจึงบันทึกไว้ในแบบบันทึกความก้าวหน้าในการพิมพ์ แต่สำหรับผู้เริ่มฝึกพิมพ์อาจวัดโดยวิธีนับจำนวนเคาะที่พิมพ์ผิด โดยยังไม่ต้องคำนวณระดับความแม่นยำก็ได้

ทั้งนี้ครูควรจัดให้มีการพิมพ์จับเวลาบ่อย ๆ เพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียน และข้อมูลในแบบบันทึกจะบอกถึงแนวโน้มความก้าวหน้าของผู้เรียน และนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาประเมินผลการเรียนตามสภาพจริงได้..

Post a Comment